|
|

" บัว "
สำหรับคนไทยแล้วจะถือว่าเป็นดอกไม้ชั้นสูงใช้บูชาพระ
ในเชิงกวีได้กล่าวถึงบัวในหลายลักษณะ
เช่นใช้อุปมาอุปไมยกับสติปัญญา
หรือ พฤติกรรมของคน
เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นผู้มีบุญ
การบรรยายให้เห็นบรรยากาศ
การเปรียบเทียบ
ทั้งที่เปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อม
อวัยวะ
หรือสรีระของผู้หญิง (
อันนี้กวีเขาถนัดนัก )
ลองดูสักหน่อยก็ได้ .....
อุปมาอุปไมยกับพฤติกรรมของคน
บงกชเกิดต่ำต้อย
โคลนตม
มั่นมุ่งเบื้องอุดม ฝ่าน้ำ
ขุ่นใสไป่ยอมจม
อยู่ใต้
บริสุทธิ์ผุดผ่องล้ำ
เหล่าไม้ ดอกงาม (
โคลงโลกนิติ )
ยังนึกถึงอีกบทหนึ่งซึ่งอุปมาอุปไมยกับอวัยวะ
โดยหม่อมราชวงศ์กุศทิน
สนิทวงศ์
ประพันธ์ขึ้นเป็นเพลงของสุนทราภรณ์ไว้แล้ว
ชื่อเพลง "
เสียดายบัว " นั่นไง
บทนั้นบอกไว้เลยว่า ....เสียดายดอกบัวงาม
แลดูทรามเสื่อมศรี
ความแฉล้มของแก้มเทพี
ข่มสีบัวสดหมดงาม..... โห
.....สีดอกบัวสวยๆ เนี่ย
พอไปเทียบกับแก้มเธอเท่านั้น
สีของบัวหมดเลย
ถูกข่มจนเสียดายบัวไปเลย (
วันนี้ของดเทียบกับอวัยวะผู้หญิงยอดนิยมที่ชอบเปรียบกับดอกบัวกันนัก
ฮิๆ )
บรรยายให้เห็นบรรยากาศสภาพแวดล้อมและการเปรียบเทียบ
ก้านบัวบอกลึกตื้น
ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน
ชาติเชื้อ ( โคลงโลกนิติ )
อุปมาอุปไมยกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญ
บังเกิดเป็นปทุมเกสร
อรชรรับแสงพระสุริฉาน
ขึ้นในอุทรแล้วเบิกบาน
มีพระกุมารโฉมยง
อยู่ในห้องดวงโกเมศ
ดั่งพรหมเรืองเดชครรไลหงส์
จึงพระกฤษณฤทธิ์รงค์
อุ้มองค์กุมรรแล้วเหาะมา (
รามเกียรติ์ ตอน
กำเนิดท้าวอโนมาตัน )
เพลงไทยหลายเพลงก็กล่าวถึงบัว
ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเพลง
" บัวขาว " ซึ่งเป็นเพลงไทยสากลที่ต้องเรียกว่าอมตะตลอดกาล
เพลง" บัวตูม
บัวบาน " " บัวน้อยคอยรัก
" ฯลฯ
ของวงสุนทราภรณ์เองผมก็ชอบ
" บัวกลางบึง " "
แรกเจอ " อีกเพลงหนึ่งที่ผมเห็นเนื้อหาความหมายของเพลงแล้ว
ผมก็นึกชอบขึ้นมาทันที
เพลง :
บัวแนบน้ำ
คำร้อง :
ขุนวิจิตรมาตรา
ทำนอง : เอื้อ
สุนทรสนาน
บัวบานแนบแอบน้ำอรชร
เงาสะท้อนในน้ำงามหนักหนา
หอมตรลบบานหมู่ภู่ผึ้งมา
เคล้าผกาเกสรขจรขจาย
** มองมัจฉาว่ายแหวกแทรกเสียดก้าน
เพียงแต่พานเงาบัวก็รัวหาย
อยู่ใกล้ดอกเย็นเช้ายังเปล่าดาย
ได้แต่ว่ายเสียดก้าน
สงสารปลา
( ร้องซ้ำท่อน ** )
และเชื่อไหมว่าผมยังไม่มีโอกาสได้ฟังเพลงนี้เลย
วันนี้ขอคุยแค่เรื่องบัวสกุลหนึ่งในทั้งหมดสองสกุลที่เรียกว่า
สกุลปทุมชาติ (
Nelumbo ) สำหรับสกุลปทุมชาติ
คนไทยมักเรียกว่า บัวหลวง
ปทุมชาติเป็นบัวชนิดที่มีก้านแข็ง
เปราะ มีตุ่มและหนาม
ชูก้านพ้นน้ำได้สูง
หน้าใบไม่เปียกน้ำ
ดอกมีรูปร่างเป็นพุ่มสวย
มีทั้งที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
และกลิ่นหอมจัด
บานในเวลากลางวัน
เมื่อดอกบานแล้วจะคลี่แบะออก
เกสรหอม
เมื่อเกสรร่วงมองเห็นฝักใหญ่
มีเมล็ดกลมนูนขึ้นมา
บัวหลวงขึ้นอยู่ทั่วไปตามคลองหนองบึง
พุทธสานิกชนนิยมนำดอกบัวหลวงมาบูชาพระ
และนำมาปักแจกันตกแต่งอาคารบ้านเรือน
นอกจากนั้นยังนำส่วนอื่นๆ
มาใช้ประโยชน์เกือบทุกส่วน
เช่น เหง้าบัวหรือรากบัว
นำมาต้มรับประทานแก้ร้อนใน
กระหายน้ำ
ใช้เชื่อมน้ำตาลรับประทานเป็นของหวาน
นำมาชุบแป้งทอดเป็นของว่าง
ใบบัวแก่นำมาใช้ห่อของแทนใบตอง
ใบอ่อนนำมารับประทานเป็นยา
เกสรตัวผู้เส้นสีเหลืองนำมาตากแห้งเป็นสมุนไพร
ใช้ปรุงยาไทย เช่น
ยาบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท
และเป็นยาชูกำลัง
เมล็ดบัวใช้รับประทานทั้งดิบและนำมาผสมอาหารคาว
ตลอดจนนำมาต้มน้ำต่างเป็นของหวาน
และเคลือบน้ำตาลแห้ง
มีสรรพคุณบำรุงครรภ์
และบำรุงกำลัง
ดีบัวมีสารอัลคาลอยด์ซึ่งมีสรรพคุณช่วยขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
ดอกบัวหลวงซึ่งมีเพียงสองสี
คือสีขาว และ สีชมพู
มีก้านดอกแข็งแรงมีตุ่มหนามเช่นกัน
ดอกตูมมีลักษณะคล้ายมือประณมไหว้
คนโบราณไม่นิยมใช้ดอกบัวหลวงบานไหว้พระ
อาจเป็นเพราะดอกบัวบานกลิ่นหอมแรง
และมักมีหมู่แมลงมาบินตอมดอมดมอยู่เสมอก็เป็นได้
บัวหลวงมีหลายพันธุ์
มีที่สำคัญดังนี้
" ปทุม " เป็นบัวหลวงสีชมพู
บางทีก็เรียก บัวแหลมแดง
หรือแดงดอกลา
กลีบดอกไม่ซ้อนดอกมีขนาดใหญ่
สีชมพูจนถึงแดง
เป็นพันธุ์ที่ขึ้นแพร่หลายทั่วไป
คนไทยจะคุ้นเคยกับบัวหลวงพันธุ์นี้มากที่สุด
เพราะขึ้นในธรรมชาติทั่วไป
ในภาษากวีมีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น
ปทุม ปทุมมาลย์ ปัทมา
โกกนุต
มีทรงดอกตูมทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมคล้ายรูปหัวใจหงายขึ้น
เมื่อโตเต็มที่ขนาดดอกจะกว้างประมาณ
5 - 8 เซ็นติเมตร ยาวประมาณ 10 - 15
เซ็นติเมตร
กลีบเลี้ยงมีสีเขียว
ขอบกลีบมีสีชมพู
มีเส้นกลีบดอกตามแนวยาวชัดเจน
มีกลีบเลี้ยง จำนวน 3
กลีบอยู่โคนดอกติดกับก้านดอก
กลีบดอกมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด
มีลักษณะยืดหยุ่นสีชมพู
โคนกลีบมีสีเหลืองขอบกลีบเป็นสีชมพูเข้มกว่าตัวกลีบดอก
และเห็นเส้นกลีบดอกเรียงตามยาวชัดเจน
กลีบดอกเรียงซ้อนกันประมาณ
4 - 5 ชั้น
ชั้นในสุดติดกับเกสรตัวผู้
จำนวน 500 - 600 อัน
เกสรตัวเมียถูกห่อหุ้มเป็นฝักขนาดเล็ก
ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ ประมาณ 25
- 30 เมล็ด
อาจจะเป็นเพราะมีเกสรตัวผู้ค่อนข้างมาก
ทำให้มีการผสมเกสรทำได้ง่าย
จึงทำให้มีการแพร่พันธุ์ของบัวชนิดนี้มากกว่าพันธุ์อื่น
เวลาดอกบานจะมีกลิ่นหอมเย็น
และกลิ่นค่อนข้างแรง
สำหรับบัวหลวงสีชมพูพันธุ์ดอกเล็ก
จะสังเกตจากดอกมีขนาดเล็กกว่าปกติ
แต่มีลักษณะดอกและสีคล้ายกัน
กล่าวกันว่าได้พันธุ์มาจากประเทศจีน
บางคนจึงเรียกกันว่า
บัวหลวงจีน
บัวเข็มบัวปักกิ่ง
บัวไต้หวัน
"บุณฑริก หรือ
ปุณฑริก" ชื่อสามัญเรียก
บัวแหลมขาว
ทรงดอกแหลมสีขาวถึงขาวอมเขียว
กลีบดอกไม่ซ้อน
บัวชนิดนี้มีน้อยกว่าชนิดแรก
ลักษณะดอกตูมรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมคล้ายพันธุ์ดอกสีชมพู
ความกว้างของดอกจะน้อยกว่าความยาว
ดอกที่สมบูรณ์จะมีขนาดกว้างประมาณ
5 - 8
เซ็นติเมตร ยาวประมาณ 10 - 15
เซ็นติเมตร สีเขียวอ่อน
เมื่อดอกบานกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีขาว
มีเส้นที่กลีบดอกตามแนวยาวชัดเจน
โคนของกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน
กลีบดอกมีความยืดหยุ่นพอ
สมควร มีกลีบดอก 4 - 5 ชั้น
จำนวน 14 - 16 กลีบ
ดอกมีกลิ่นหอมเย็น
โคนกลีบดอกเป็นที่อยู่ของเกสรตัวผู้ก้านเกสรตัวผู้ยาวประมาณ
3 - 3.5 เซ็นติเมตร
เกสรตัวเมียรวมกันเป็นฝักขนาดเล็ก
ภายในมีเมล็ดบัว จำนวน 15 - 20
เมล็ด
เมล็ดอ่อนจะมีลักษณะกลมยาว
เมื่อเมล็ดแก่จะกลมมนขึ้น
และผิวเมล็ดจะกลายเป็น
สีดำหรือเกือบดำ
เป็นที่น่าสังเกตว่าบัวชนิดนี้จะพบน้อย
อาจเป็นเพราะมีเกสรตัวผู้น้อยและเกสร
ตัวเมียน้อยกว่าบัวชนิดแรก
ขึ้นได้ดีในระดับความลึกของน้ำประมาณ
15 - 60 เซ็นติเมตร
" สัตตบงกช " บางทีเรียก
บัวฉัตรแดง หรือ บัวป้อมแดง
บัวหลวงสีชมพูดอกซ้อน
มีชื่อละตินว่า Nelumbo nucifera ชื่อสามัญว่า
Roseum plenum
ดอกทรงป้อมสีชมพูถึงแดง
กลีบดอกซ้อนมากกว่าบัวปทุม
ใกล้ฝักจะมีกลีบสีขาวปนชมพูอยู่หลายชั้น
เวลาดอกบานแล้วจะเห็นกลีบเล็ก
ๆ
สีขาวปนชมพูซ้อนอยู่ข้างใน
ส่วนกลีบนอก ๆ
ก็มีลักษณะเหมือนบัวหลวงทั่วไป
บัวหลวงพันธุ์นี้ไม่ค่อยมีเมล็ด
" สัตตบุษย์ " ชื่อสามัญเรียก
บัวฉัตรขาว หรือ บัวป้อมขาว
ดอกป้อมสีขาว
กลีบดอกซ้อนมาก
ดอกตูมมีรูปร่างป้อมกว่าปุณฑริก
มีสีขาว กลิ่นหอมจัด
สำหรับบัว
สัตบงกชและบุณฑริก
คนเหนือเรียกว่า "
บัวพันชั้น "
มีตำนานเป็นวรรณกรรมชาดกเรื่อง
" บัวหอมพันกาบ" ที่คู่กับเรื่อง
"
พญาช้างเจ็ดเศียร " อีกด้วย
ดอกบัวเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด
ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย,
หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี เป็นดอกไม้ประจำวันเกิดของคนที่เกิดวันพฤหัสบดี
ด้วยความที่เป็นดอกไม้แทนความสงบและความบริสุทธิ์ใจ
จึงเป็น "
รักด้วยความศรัทธาและชื่นชม
" หากหญิงผู้คล้ายดอกบัว
เธอคือคนที่มีความต่างอันทรงเสน่ห์
ออกจะเป็นคนลึกลับ
ทว่าหาได้สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้มาหลงเสน่ห์ไม่
ความงดงามของเธอหาใช่เกิดจากความปรารถนาจะเป็นหนึ่ง
หากเป็นความงดงามอันมีคุณค่า
อีกทั้งสกุลรุนชาติก็มิได้ทำให้เธอด้อยค่าหรือมีค่ามากไปกว่าความงดงามแห่งจิตใจ
เสน่ห์ของเธอไม่รุนแรงเหมือนดอกไม่สีแสบตา
ทว่าเสน่ห์นี้มั่นคงและไม่เสื่อมคลาย
กล่าวกันว่าเมื่อแสงอรุโณทัยขับกล่อมบทเพลงแห่งทิวา
กรุ่นกลิ่นหอมอ่อนๆ
ของปทุมชาติกลายเป็นเสมือนหนึ่งพลังซึ่งสามารถเขย่าหัวใจบุรุษเพศให้กระเจิดกระเจิง
.......นักพรตบำเพ็ญภาวนา
เมื่อได้กลิ่นหอมนี้
อาจเปิดเปลือกตาด้วยความรัญจวนและว้าวุ่น
อาจสลัดความเป็นนักพรตออกดั้นด้นแสวงหากลิ่นหอมนั้น
.....ชายหนุ่ม
และไม่หนุ่มบางคนอาจแอบรักปทุมชาติ
ทั้งที่เขามีดอกไม้อื่นอยู่แล้ว
( เอ๊ะ!!! ชักจะยังไงกันนิ )
♠
,¸¸,ø¤º°`°º¤ø,¸¸¸><((((º>
mallard <º))))><,¸¸,ø¤º°`°º¤ø,¸
♠

♠
แถมให้ครับ 1
ดอก
♠
|
|
|